วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเอง (Self Reliance Theory)


ข้าพเจ้า จักยึดมั่นทำความดี การจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหารกษัตริย์  ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง และขอให้เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยตลอดไป
พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี สติ ปัญญา และความเพียร ซึ่งจะนำไปสู่ ความสุข ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
 
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่ เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
        ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว


แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
                “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ
 
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 

อย่าสิไลลืมถิ่ม         มูลมังตั้งแต่เก่า
อย่าสิเผามอดเมี้ยน    เสียถิ่มบ่มีเหลือ
บาดว่าเทื่อมื้อหน้า     สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง
อีสานเอาสิพุ่ง          เจริญขึ้นก็แต่หลัง เด้อ

ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ นายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ได้แถลงข่าว "ความมั่นคงด้านอาหาร และการประชุมเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร รากฐานโภชนาการและสุขภาพ" ว่า จากจำนวนประชากรไทยในประเทศที่มีทั้งหมดประมาณ 66 ล้านคน มีการประกอบกิจการต่าง ๆ 320.7 ล้านไร่ แบ่งเป็นการเกษตร 112.6 ล้านไร่  คนไทยใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าวลดน้อยลง
 
ประการสำคัญที่สุดในขณะนี้คือ อายุเฉลี่ยของชาวนาปัจจุบันอยู่ที่ 47 - 51 ปี อีกทั้งวัยรุ่นหนุ่มสาวยุคใหม่ ไม่สนใจการทำนา หรือการเป็นเกษตรกร จึงน่าเป็นห่วงว่า อนาคตจะไม่มีชาวนาปลูกข้าว และอาจจะส่งผลกระทบต่อความไม่มั่นคงทางด้านอาหารในอนาคต

         ส่วนปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องรีบแก้ปัญหานั้นก็คือ คนไทยขาดสารอาหารมากขึ้น ซึ่งจากรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2552 พบว่าช่วง ปี 2547-2549 คนไทยขาดสารอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 คิดเป็น 10.7 ล้านคน  และนอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องอาหารปนเปื้อน ซึ่งพบว่าช่วงปี 2552 มีผู้ป่วยโรคอุจาระร่วงเฉียบพลันเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านรายเลยทีเดียว
ประเทศญี่ปุ่นไม่มีที่จะปลูกข้าว   รู้ไหมเค้าทำยังไง   จำลองที่บนหลังคาบ้านแล้วปลูก  (แม่เจ้า)   แต่ไทยเรามีที่ดินทำไร่ทำนามากมาย   แต่ไม่ค่อยอยากทำกัน ชอบสบาย    และตอนนี้ได้ยินข่าวไหมว่าเค้าจะให้ประเทศบางประเทศมายืมใช้ที่ในประเทศไทย ปลูกข้าว   ต่อไปคนไทยคงไม่ได้ปลูกข้าว คงซื้อข้าวจากต่างชาติที่เค้าปลูกในประเทศไทยกินกัน
 
เกษตร ต้อยต่ำ แต่ ล่ำค่า เราแค่ภูมิใจในสิ่งที่เราทำก็พอ เรียนเกษตรนี่ละไม่อดตาย ถ้าคนมันไม่กินอากาศแทนข้าว แทนเนื้อหมู เนื้อไก่ ยังไงซะก็มีงานให้ทำ มั่นคงแถมยังพอเพียง

"ความพอเพียง" ไม่ได้ยกระดับฐานะ แต่ยกระดับจิตใจเรา
...สิ่งนั้นไม่ได้ช่วยให้เรา “รวย” เร็วขึ้นหรืออย่างไร
เพียงแต่.ช่วยให้รู้จักความสบายแท้จริง ที่เงินหาซื้อไม่ได้...

“ตามหารากเหง้าแห่งตน”

ขอบคุณข้อมูลจากเวบไซด์์ //  
http://www.rta.mi.th/21610u/Data/Data_pro/Popeaing/1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น