วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

มูลนิธิโครงการหลวงฯ


ข้าพเจ้า จักยึดมั่นทำความดี การจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหารกษัตริย์  ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง และขอให้เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยตลอดไป
การก่อตั้งมูลนิธิโครงการหลวง
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสถานะภาพของโครงการฯ มาเป็นมูลนิธิ เรียกว่า มูลนิธิ โครงการหลวงและพระราชทานเงินก้นถุง เพื่อใช้เป็นทรัพย์สินเริ่มแรก จำนวน 500,000 บาท เพื่อจะได้เป็นองค์กรนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับ และดำเนินงานด้วยความมั่นคง เป็นปึกแผ่นสืบไป นับเป็นก้าวใหม่ของโครงการฯ ที่ก้าวขึ้นเป็นองค์กรเพื่อสาธารณะประโยชน์ ที่ถาวรมีระบบงานที่แน่นอน คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อความร่วมมือและการประสานงาน กับส่วนราชการและเอกชนต่าง ๆ ในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณะ ของการริเริ่มงานวิจัยใหม่ ๆ ที่ไปสู่การพัฒนาและการผลิต ที่แน่นอนมีตลาดรองรับ รวมทั้งโครงการนำร่อง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สำคัญแก่การพัฒนาในที่สูง การสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลิตผล และผลิตภัณฑ์ของโครงการฯ โดยมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาสภาพต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญ ๆ ของประเทศเอาไว้
สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์
วัตถุประสงค์ของโครงการหลวง
  • เพื่อป้องกัน การทำลายป่าต้นน้ำ โดยราษฎรชาวเขา และส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน
  • เพื่อจัดให้ ราษฎรชาวเขาเลิก โยกย้ายที่ทำกินและ การทำลายป่าเพื่อปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นการผิด กฏหมาย และให้รู้จักอยู่เป็นหลักแหล่ง โดยดำเนินการจัดหาพันธุ์พืชที่ทดลอง แล้วว่าสามารถปลูกได้ ในสภาพภูมิประเทศและ สภาพภูมิอากาศที่เป็นถิ่นที่อยู่ของราษฎรชาวเขา อีกทั้งเป็นพืชที่ สามารถทำรายได้สูงเท่ากับฝิ่นหรือมากกว่า
  • เพื่อดำเนินการ ฝึกอบรมราษฎรชาวเขา ให้เข้าใจหลักวิชาการเกษตรที่สูง รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์
  • เพื่อดำเนินการ ทดลองวิจัยพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ที่จะ สามารถขยายพันธุ์ให้แก่ราษฎร เพื่อนำไปปลูกและเลี้ยง เพื่อเพิ่มพูนรายได้ โดยทำการศึกษาใน ด้านการขนส่งและ ภาวะตลาดด้วย
  • เพื่อส่งเสริม ในด้านการศึกษา อนามัย และการวางแผนครอบครัวแก่ราษฎรชาวเขา
 การดำเนินงานที่สำคัญ ที่สุดของโครงการฯ ในระยะเริ่มแรกนั้นก็ คืองานวิจัย เพราะนักวิชาการเกือบทั้งหมด ของมหาวิทยาลัย คุ้นเคยกับพืชที่ ปลูกกันในพื้นที่ข้างล่าง ทั้งสิ้น ไม่เคยศึกษา หรือวิจัยว่าพืชใด ที่มีราคาและ เหมาะสมที่จะปลูก ในที่สูง ให้ผลผลิตที่ จะปลูกทดแทนฝิ่นได้ โครงการฯ ได้รับความร่วมมือจาก คณะผู้ทำงานเป็นอาสาสมัคร ประกอบด้วยคณาจารย์ ข้าราชการ และ เจ้าหน้าที่ จากหน่วยราชการต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมประชาสงเคราะห์ การพลังงานแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กองทัพอากาศ กองทัพบก กรมชลประทาน กรมตำรวจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย สำนักงานเกษตรภาคเหนือ สำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น
งานพัฒนา
เพื่อจะพัฒนาอาชีพยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรในพื้นี เป้าหมายกับทั้งเพื่อเป็นการหยุดยั้งการปลูกฝิ่น การทำไร่เลื่อนลอย และการตัดไม้ทำลายป่า โดยมุ่งหวัดที่จะถ่ายทอดงานวิจัยต่าง ๆ ให้ถึงมือเกษตรกร ให้สามารถประกอบอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และสนับสนุนการดำเนินการด้านการอนุรักษ์ดิน และน้ำที่เหมาะสม โครงการหลวงจึงได้จัดตั้งศุนย์พัฒนาโครงการหลวงขึ้นรวม 34 แห่ง (รวมทั้งงานพัฒนาในหมู่บ้านต่าง ๆ ของสถานีวิจัยของมูลนิธิด้วย)
ขอบคุณข้อมูลจากเวบไซด์

1 ความคิดเห็น:

  1. ที่มาของ มูลนิธิโครงการหลวง
    ขอองค์มหาราชาภูมิพล ทรงพระเจริญ

    ตอบลบ