วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติ จากป่า..สู่เมือง


ข้าพเจ้า จักยึดมั่นทำความดี การจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหารกษัตริย์  ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง และขอให้เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยตลอดไป

ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ป่าไม้ของประเทศไทยถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วตามแรง หนุนเนื่องของประชากรที่เพิ่มขึ้นผนวกกับพลังผลักดันทางเศรษฐกิจระบบทุนนิยม เสรีที่มุ่งค้าขาย โดยใช้ป่าเป็นตัวสำคัญเชิงพาณิชย์ การเช่นนี้ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเนื่องจากต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อยามน้ำหลากก็เกิด้ำท่วมฉับพลันและมีการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จนเป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นทุกข์ร้อนของแผ่นดิน พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวยิ่งนัก โดยเฉพาะเรื่องป่าไม้เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติเป็นต้นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มทดลองปลูกต้นยางด้วยพระองค์ เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนั้นในแปลงป่าไม้ทดลองในบริเวณแปลงทดลองปลูกต้นยางนา พร้อมข้าราชบริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 จำนวน 1,250 ต้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพันธุ์ไม้ต่างๆ ทั่วประเทศมาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดาในลักษณะป่าไม้สาธิต นอกจากนี้ยังได้สร้างพระตำหนักเรือนต้นในบริเวณป่าไม้สาธิตนั้นเพื่อทรง ศึกษาธรรมชาติวิทยาของป่าไม้ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิดและลึกซึ้งในปี พ.ศ. 2508
แนวพระราชดำริด้านป่าไม้: ทรงคิดค้นนานาวิธีที่จะอนุรักษ์ป่าไม้ให้ยืนยง

เพื่อ ปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมให้ตื่นขึ้น ให้รับทราบความเป็นไปของสถานการณ์ป่าไม้ และ สัตว์ป่าเมืองไทย คุณสืบ นาคะเสถียร ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นจริงจังใน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ภายหลังการเสียชีวิตของคุณสืบ 18 วัน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2533 วันเดียวกับการครบรอบ 94 ปีของกรมป่าไม้ หน่วยงานต้นสังกัดของนักอนุรักษ์นี้

ผ่านมาแล้ว 21 ปี ที่วีระบุรุษผู้เสียสละชีพ เพื่อพิทักษ์ผืนป่า...จากป่า...สู่เมือง การจากไปของสืบ นาคะเสถียร

ผมคิดว่า ชีวิตผมทำได้ดีที่สุดแล้ว
เท่าที่ผมมีชีวิตอยู่
ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว
ผมคิดว่า ผมได้ทำตามกำลังของผมดีแล้ว
และ...ผมพอใจ ผมภูมิใจสิ่งที่ผมทำ ...
ประวัติ
สืบ นาคะเสถียร หรือชื่อเดิม "สืบยศ" บิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี, มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบเป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือ กอบกิจ นาคะเสถียร และ กัลยา รักษาสิริกุล สืบมีบุตรสาว 1 คน ชื่อชินรัตน์ นาคะเสถียร ในวัยเด็ก สืบ นาคะเสถียร ได้ช่วยงานในนาของมารดา ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวันโดยไม่ปริปากบ่น บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด

ตำแหน่งสุดท้ายคือ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร
    สืบ นาคะเสถียร ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า ทั้งในด้านการวิจัยและด้านการปฏิบัติการ
    ช่วยเหลือชีวิตสัตว์ป่าที่ได้รับบาดเจ็บและได้รับความเดือดร้อน เช่น การอพยพสัตว์ป่าที่ได้รับความเดือดร้อน
    จากการสร้างเขื่อน เชี่ยวหลาน เขาทำงานด้วยความเสียสละ รับผิดชอบ และมีความตั้งใจสูง คำนึงถึงความ
    ปลอดภัยและสวัสดิการของผู้ร่วมงานอย่างเช่นการปฏิบัติงานในหน้าที่หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง
    ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภาหรือเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2529 ซึ่งจากการสร้าง
    เขื่อนเชี่ยวหลาน ทำให้ป่าดงดิบนับแสนไร่ต้องจมอยู่ใต้น้ำส่วนที่เป็นเนินเขาและภูเขาถูกตัดขาดเป็น
    เกาะน้อยใหญ่จำนวน 162 เกาะ สัตว์ป่านานาชนิดที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้องได้รับผลกระทบจากการ
    ที่มีน้ำท่วมฉับพลัน สัตว์ป่าจำนวนมากที่หนีน้ำไม่ทันไม่น้อยกว่า 338 ชนิด ซึ่งมีสัตว์หลายชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
    เช่น เลียงผา เสือลายเมฆ สมเสร็จ ช้าง กระทิง วัวแดง ไก้ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า กบทูด เป็นต้น
    สัตว์ป่าเหล่านี้ต้องประสบกับการอดอาหาร ขาดร่มเงา ต้นไม้ที่เหลืออยู่บนเกาะก็กำลังจะตาย สัตว์ที่ติดอยู่
    บนเกาะไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องอดอาหารหรือจมน้ำตาย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน
    สืบ นาคะเสถียร คือหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าเหล่านี้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย

พ.ศ.2531 สืบได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และต่อมา พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

สืบ ได้พยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกัน สำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้ อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด สืบ ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ
เช้า มืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ รับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัย สัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตาม วัตถุกระสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระ จนจิตใจสงบขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกาย วาจา 
ความมหัศจรรย์ของมนุษย์ ในการทำลายล้างธรรมชาติ
..เมื่อมีความเจริญ..มีการพัฒนา (ในภาษาของธรรมชาติการพัฒนาของมนุษย์คือ.. การทำลายล้างธรรมชาติ) มีถนนลากยาว ไปถึงไหนก็บรรลัยวายวอดที่นั่น..ป่าเริ่มถูกเปิด บริสุทธิ์..จุดเริ่มต้นของหายนะ..
..ธรรมชาติทั่วโลกพร้อมใจกันเพิ่มดีกรีความรุนแรงมากขึ้นทุกที.. แต่เราก็ยังไม่เคย ได้คิด..ยังคงมุ่งมั่นล้างผลาญทำลายธรรมชาติกันต่อไปด้วยอัตราการล้างผลาญที่มั่นคงสม่ำ เสมอ..เราคงต้องโดนตบหน้ากันทุกปีและถูกตบถี่ขึ้นเรื่อย ๆ .. เตรียมตัวเตรียมใจกันให้ดี.. เราเตือนท่าน (เป็นครั้งที่ล้านเจ็ด) แล้วววว..!!!!
ธรรมชาติกำลังทวงคืนสิ่งที่มนุษย์ได้ช่วงชิงไป….
ตอนนี้ธรรมชาติอาจกำลังคบคิดกันตอบโต้เล่นงานมนุษย์….
เพื่อความอยู่รอดของธรรมชาติและโลก..อยู่ก็ได้นะ.....

ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
www.seub.or.th
โทรศัพท์ / โทรสาร (02)2247838-39
http://web3.dnp.go.th/wildlifenew/animConserveDepView.aspx?depId=17
www.panyathai.or.th

1 ความคิดเห็น:

  1. รำลึก ถึง สืบ นาคะเสถียร พสกนิกร ผู้รักษาป่า ถวายพ่อหลวง

    ตอบลบ