วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โครงการฝนเทียมในแดนอีสาน...เป็นหยาดฝนสู่ปวงประชา จากพระบิดาของแผ่นดิน...

ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง

นับตั้งแต่เริ่ม จากการที่พระบาทสมเด็ดพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฏรในจังหวัดต่าง ๆ เป็นประจำได้ทรงพบเห็นปัญหาทุกข์ยากของพสกนิกรอันเนื่องจากสภาวะแห้งแล้งดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมากเนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤตของพืชผล คือ พืชอยู่ในระยะที่ผสมพันธ์และกำลังให้ผลผลิต


 ในแต่ละปีที่ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในฐานะคนอีสานอย่างพวกเรา คนเฒ่า คนแก่ ก็จะพากันทำการ แห่นางแมว (Cat Procession) เป็นพิธีกรรมขอฝนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล เพราะว่าแมวเกลียดน้ำ (The cat hates water)

ประเพณีแห่นางแมว ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีขอฝนของชาวอีสาน  
หลายๆคนคงจะเคยได้ยินมานะคะว่าชาวอีสานมีวิธีการขอฝนอยู่ อย่างหนึ่งคือ ประเพณีการแห่นางแมว ซึ่งการแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน ซึ่งจำจัดทำขึ้นในปีใดที่ภาคอีสานในแต่ละท้องถิ่นแห่งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดู กาล จนในปัจจุบันกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตราบจนทุกวันนี้ค่ะ 

พิธีแห่นางแมวของชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเหตุที่ฝนไม่ตกมี เหตุผลหลายประการ เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง, ประชาชนชาวเมืองหย่อนในศีลธรรม, เจ้าเมืองหรือเจ้าแผ่นดินไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม, เป็นต้น เหตุนี้ชาวเมือง ชาวอีสานจึงต้องทำพิธีอ้อนวอนขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธีแห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้ง ของนางแมว 

องค์ประกอบที่ใช้ในพิธีแห่นางแมว
1. กะทอหรือเข่งที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน
2. แมวสีดำตัวเมีย 1 ตัว
3. เทียน 5 คู่
4. ดอกไม้ 5 คู่
5. ไม่สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 1 อัน 

วิธีแห่งนางแมว
1.ชาวบ้านรวมทั้งคนแก่คนหนุ่มและเด็กส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ปรึกษาหารือกัน คนที่เป็นผู้นำกล่าวเซิ้ง เพื่อให้ผู้ไปแห่ทั้งหมดเป็นผู้ว่าตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน
2. หากะทอใบหนึ่งหรืออาจใช้เข่งก็ได้
3. จับเอาแมวตัวเมียสีดำ 1 ตัวใส่ในกะทอ ใช้เชือกผูกปิดปากะทอไม่ให้แมวออกได้ และใช้ไม้สอดกะทอให้คนหา 2 คน ตั้งคายด้วยขันธ์ ห้า ป่าวสักเคเทวดา เพื่อให้เทวดาบันดาลให้ฝนตก
4. ได้เวลาพลบค่ำผู้คนกำลังอยู่บ้าน ก็เริ่มขบวนแห่โดยหากะทอแมวออกข้างหน้า แล้วตามด้วยคนว่าคำเซิ้ง และผู้แห่ว่าตามเป็นท่อนๆไป ในขบวนก็จะมีการตีเกราะเคาะไม้เพื่อให้เกิดจังหวะตามไปด้วย และแห่ไปทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านนั้นๆ เมื่อแห่ไปถึงบ้านใครเจ้าของบ้านก็ต้องเอาน้ำสาดหรือรดที่ตัวแมวให้เปียกและ ทำให้แมวร้อง และสาดใส่ขบวนเซิ้งด้วย ประเพณีบางบ้านก็สาดใส่ขบวนเฉยๆโดยไม่ให้ถูกแมว เพราะปรากฏว่าเซิ้งหนักๆเข้า แมวตายวันละตัว

ซึ่งบางครั้งก็ประสพกับความสำเร็จหมายถึง พอแห่นางแมวเสร็จก็มีฝนตกลงมา แต่บางครั้งแห่จนแมวช้ำตายไปหลายตัวก็ยังไม่มีฝนตกลงมาเลยสักหยด.......แล้วพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ก็มีเขตตินต่อแดนทุ่งกุลา...ตามตำนานสมัยก่อนคนอีสานจะเรียกดินแดนนี้ว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด...

 

โครงการฝนหลวงใช้เวลาในการคิดค้นนานเกือบ 10 ปีก่อนที่จะเริ่มโครงการพระราชดำริฝนเทียม หรือฝนหลวง ในปี พ.ศ.2512

การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbon dioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้




คือที่มาของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ..........กรมชลประทาน สำหรับพื้นที่อีสานที่แห้งแล้ง แต่กลับกลายเป็นอีสานเขียวในเวลาต่อมา........กระทั่งกลายเป็นที่มาของโครงการน้ำพระราช หฤทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2530 หรือเมื่อ 21 ปีที่ผ่านมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาปรับปรุงสภาพพื้นที่ทางการเกษตรและแหล่งน้ำในภาค อีสาน ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ โดยมีโครงการพัฒนาพื้นที่จากหน่วยงานต่างๆ ในระยะแรกมากถึง 272 โครงการ
 

"ฝนหลวง" เป็นหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตระหนักถึงความทุกข์ยากของราษฎร โดยเฉพาะเกษตรกรที่ประสบภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำอันเนื่องมาจากความผันแปรของ ฤดูกาล จึงได้มีพระราชดำริที่จะทำฝนเทียมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2498
ดูรายละเอียดได้ที่ พระราชบันทึก RAINMAKING STORY

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น