วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ในหลวงผู้ทรงอนุรักษ์ป่าไม้รักษาสิ่งแวดล้อม...






พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพล ทรงให้ความสำคัญการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว ทรงเป็นพระมาหากษัตริย์นักพัฒนาที่มีสายพระเนตรอันยาวไกล นับแต่ทรงขึ้นครองศิริราชสมบัติจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 6 ทศวรรษ พระองค์ทรงทุ่มเท พระวรกายอย่างมีรู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อสร้างความผาสุกให้แก่อาณาประชาราษฏร์ โดยการเสด็จพระราชดำเนินเยื่ยนราษฏรในทุกภูมิภาคเป็นประจำทุกปีมิได้ขาด ทั้งนี้เพื่อทอดพระเนตรสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารเพื่อที่จะได้ทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนทุกข์ยากที่แท้จริงของราษฏร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องการเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ซื่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดินและน้ำเท่านั้น หากแต่ยังโยงใยถึงปัญหา ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรม และระบบนิเวศน์
ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ทั้งน้ำ ดิน และป่าไม้ เพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ในสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถพึ่งพาตนเองได้
จากพระราชดำริดังกล่าวจวบจนถึงวันนี้ นำมาซื่งโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้มากมาย

การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้
ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลาก หลาย ตั้งแต่ภูมิประเทศ ชายฝั่งทะเลที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบดอนคลื่น จนถึงภูเขาสูงชันที่มีความสูงถึง 2,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล จึงเป็นแหล่งที่เกิดของป่าไม้หลายประเภท ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบจญพรรณ ป่าดิบ และป่าสนเขา
ถึงแม้ว่าป่าไม้จะเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นใหม่ได้ แต่ประเทศไทยก็มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้อย่างมหาศาลในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา
จากการศึกษาของ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีการแปลรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2504 ตามโครงการ VAP 61 พบว่ามีเนื้อที่ป่าทั่วประเทศ 273,628.50 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 53.33 ของประเทศ และในปี พ.ศ. 2536 เหลือเนื้อที่ป่าเพียง 133,521.0 ตารางกิโลเมตร คิดเป็ร้อยละ 26.02 (ตรวจสอบโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ) แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี ซึ่งการลดลงของพื้นที่ป่าไม้อย่างมหาศาลนี้เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชาย เลนตามชายฝั่งทะเล


การทำลายป่า
การทำลายป่าและการเสื่อมสภาพของป่าเป็นทั้งสาเหตุของและผลกระทบของภาวะ โลกร้อน ต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และใช้มันเพื่อเจริญเติบโต แต่เมื่อต้นไม้เหี่ยวตายไปหรือถูกเผา คาร์บอนไดออกไซด์ก็ถูกปล่อยออกมาอีกครั้ง นอกจากนี้ต้นไม้ที่กำลังย่อยสลายยังผลิตก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์
ด้วยเหตุนี้การทำลายป่าและการเสื่อมสภาพของป่าจึงทำให้เกิดความเสียหาย เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเพราะก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ ถูกปล่อยออกมา (เช่น จากไฟป่า หรือการใช้ต้นไม้ที่ถูกตัดเป็นฟืน) พร้อมๆ กับที่จำนวนต้นไม้ที่เป็นตัวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ลดลง คาร์บอนไดออกไซด์ 30% ที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศใน 150 ปีที่ผ่านมาคาดว่ามาจากการทำลายป่า แต่นี่ยังเป็นปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยังถูกกักเก็บไว้ ในป่า ป่าสนแถบหนาวในแคนาดาและรัสเซียเพียง 2 ประเทศเป็นตัวกักเก็บก๊าซคาร์บอนถึง 40% ของโลก





ผลกระทบจากการทำลายป่าไม้
จากการที่ปริมาณป่าไม้ลดลงย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ และมีผลต่อปัจจัยทางชีวภาพ มีผลกระทบต่อ สภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ป่า สิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพราะทั้ง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จะมีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในระบบนิเวศน์ ก่อให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ การทำลายป่าจึงก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้

1. เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
ป่าที่ถูกทำลายจะทำให้ไม่มีต้นไม้ วัชพืช หญ้าปกคลุมดิน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ
2. เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน
บริเวณป่าที่ถูกทำลายจะไม่มีต้นไม้ วัชพืช และหญ้าที่ปกคลุมหน้าดินช่วยดูดซับน้ำฝน ไว้ ทำให้น้ำไหลบ่าจากที่สูงอย่างรุนแรง และมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ตอนล่างอย่างฉับพลัน
3. เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
การทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธารทำให้ป่าไม้ถูกตัด แยกออกเป็นส่วนๆ เกิดการระเหยของน้ำจากผิว ดินสูง แต่การซึม ผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บ น้ำไว้ได้น้อย ส่งผลให้น้ำไหลลงสู่ลำธารน้อยเกิด ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
4. เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้น
เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสาร ระหว่างออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและสารอื่นๆ ในระบบนิเวศที่ สำคัญ การทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูง
5. คุณภาพของน้ำเสื่อมลง
เมื่อฝนตกในบริเวณป่าไม้ที่ถูกทำลายก็จะพัดพาเอาดินโคลน ตะกอนลงสู่ แหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่นและเกิดการตื้นเขินส่งผล ให้คุณภาพน้ำทั้งทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ และเคมีด้อยลง ไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ได้
6. พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนและชนิดลดลง
ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ พืชและสัตว์ป่า การตัดไม้ทำลายป่าเป็น การทำลายแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้พืชและสัตว์ป่าหลายชนิดมีปริมาณ ลดลงจนเกือบสูญพันธ์

โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ปีที่ 50


โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 เกิดขึ้นด้วยพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินาถ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2535 ให้หามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าและเร่งฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ ลำธาร โดยทรงโปรดให้พิจารณาปัญหาการขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของชาติที่จะต้อง เร่งแก้ไขโดยด่วนที่สุด


ผลจากการทำลายป่าไม้ องค์กรทั่วโลกเริ่มหันมามองปัญหา และผลกระทบจากการทำลายพื้นที่ป่าไม้ที่มีอยู่ในโลก


ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะทำตามแบบพ่อสอน ดูแลป่าไม้ ดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกัน...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น