วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

จุดกำเนิดข้าวหอมมะลิไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก ณ อาณาจักรทุ่งกุลาร้องไห้


 พระบาททสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล พระองค์เคยกล่าวสั้นๆ แต่จับใจว่ากลิ่นหอมของข้าวไทยไม่มีอะไรมาเทียบเคียงได้...

 

จุดกำเนิด .. ข้าวหอมมะลิ  อันลือเลื่องของโลก ณ อาณาจักรทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิเริ่มต้นทดลองปลูกที่ จ.ลพบุรี ปี พศ.2502 แต่มาลงตัวแถบทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์
          ประเทศไทย ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในสังคมการเกษตรกรรมของประเทศไทยและสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากทุก ๆ ปี โดยประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตลอด 20 ปี และในปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับข้าวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย คือ ข้าวหอมมะลิที่เป็นข้าวพันธุ์หลักที่สามารถส่งไปขายในตลาดที่สำคัญ ๆ ทั่วโลก
         
ข้าวหอมมะลิ นับเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกประเทศไทยผลิตข้าวหอมมะลิและส่งออกมาเป็น เวลาหลายปีมาแล้วโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่ที่ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นข้าวหอมมะลิ  คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ (Khao Dawk Mali 105) และ ๑๕ เท่านั้น
         
สุนทร สีหะเนิน ผู้สร้างตำนาน"ข้าวขาวดอกมะลิ 105"
...ชนชาติพันธ์นี้เป็นกระดูกสันหลังของโลกที่ยังหลงเหลืออยู่ .. .” 

ผู้ค้นพบข้าวพันธุ์ “ขาวดอกมะลิ 105”
          นายสุนทร สีหะเนิน เป็นผู้ค้นพบข้าวพันธุ์ “ขาวดอกมะลิ 105” หรือ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุด และราคาแพงที่สุดของประเทศไทย เป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีการส่งออกปีละ กว่าล้านตัน นำเงินตราเข้าประเทศปีละนับหมื่นล้านบาท ลูกค้าข้าวหอมมะลิที่สำคัญได้แก่ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และ สหรัญอเมริกา เกี่ยวกับประวัติการค้นพบข้าวพันธุ์นี้ เริ่มในปี พ.ศ ๒๔๙๓๒๔๙๔   *นายสุนทร     สีหะเนิน   อดีตพนักงานข้าว ฯ  ของกรมการข้าวฯ ในสมัยขณะนั้น  โดยประจำอยู่ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  ได้รับมอบหมายให้ออกไปเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวในภาคตะวันออก   ในอำเภอบางคล้า     ด้วยการคัดเก็บเอารวงข้าวจำนวน ๑๙๙  รวง  ซึ่งเป็นข้าวที่มีความหอมและเรียกกันว่า  " ข้าวหอมมะลิ " ทั้งหมดถูกเก็บและได้ระบุหมายเลขของรวงที่เก็บมาได้ตามลำดับ
          จากนั้น จึงส่งไปปลูกเพื่อคัดพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรงจังหวัดลพบุรี   และต่อมาในปี  ๒๕๐๐  พันธุ์ ข้าวหอมมะลิที่ผ่านการคัดเป็นพันธุ์บริสุทิ์แล้วถูกนำไปปลูกทดลองและทดสอบใน พื้นที่ปลูกข้าวภาคต่างๆ พบว่า ในภาคอีสาน ข้าวหอมมะลิ  ที่เป็นรวงหมายเลขที่ ๑๐๕  (หนึ่งร้อยห้า) เป็นรวงที่ให้ผลผลิตดีในพื้นที่ดินทรายโดยเฉพาะในภาคอีสาน   จะเป็นเมล็ดข้าวเรียวยาว สมบูรณ์และความหอมของข้าวยังคงเหมือนข้าวที่ปลูกจากแหล่งเก็บเหมือนเดิม 
 
นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวในระยะต่อมา ยังใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผสมข้าวพันธุ์และฉายรังสีแกมมา แล้วคัดเลือกจนได้เป็นพันธุ์ข้าวที่ดีหลายพันธุ์ รวมทั้งข้าวพันธุ์ “กข 15” และข้าวเหนียวพันธื "กข6" ซึ่งมีเกษตรกรปลูกปีละนับแสนไร่เช่นกัน

 โดยเริ่มแรกให้ชื่อว่า  ขาวดอกมะลิ  ๔-๒๑๐๕   [ในยุคสมัยนั้น]  
        ในเชิงสัญญลักษณ์   ก็มีความหมาย  คือ ว่า ......
        หมายเลข ๔  หมายถึงอำเภอที่เก็บมา   อำเภอบางคล้า  จังหวัดฉะเชิงเทรา และ
        หมายเลข ๒  หมายถึง  ชื่อพันธุ์ข้าวที่เก็บในอำเภอนั้น คือ  หอมมะลิ    และ     หมายเลข ๑๐๕  ก็คือ ....
ตำแหน่งรวงข้าวของพันธุ์หอมมะลิที่เก็บในที่นั้น   ซึ่งเป็นรวงหมายเลขที่ ๑๐๕ (หนึ่งร้อยห้า)  คือ  หอมมะลิ  ซึ่งมีที่มาจากความขาวของเมล็ดข้าว  และความหอมที่คนไทยมักจะนำไปเปรียบเทียบกับดอกไม้ไทยในขณะนั้น
       โดยคนไทยจะใช้ดอกมะลิที่มีสีขาวสำหรับบูชาพระ เป็นสิ่งมงคลและความประทับใจคล้าย ๆ กัน                    
        จากความหมายในเชิงสัญญลักษณ์ดังกล่าวนี้  จึงมีผู้นำมาใช้เป็นชื่อพันธุ์ข้าวหอมของไทย เหตุผลที่ข้าวพันธุ์นี้ได้ถูกนำไปขยายผล  เพราะเป็นข้าวที่มีความโดดเด่น  ในรูปลักษณ์และรสชาติ  ซึ่งเป็นผลดีทั้งในด้านความหอมและความนุ่มของรสชาติจนได้รับความนิยมจากผู้บริโภค  ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดเรื่อยมา

          ในปีพ.ศ.๒๕๐๒   ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นี้  ได้รับรองให้เป็นข้าวหอมพันธุ์ที่มีชื่อขาวดอกมะลิ  ๑๐๕  *  เมื่อวันที่  ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.  ๒๕๐๒ ในชื่อ “ขาวดอกมะลิ 105” เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไป ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ได้รับความนิยม เป็นพันธุ์พืชที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทยติดต่อกันมาหลายปีจนถึงปัจจุบัน


          ต่อมา ภาครัฐจึงให้การสนับสนุนให้ปลูกเป็นแปลงสาธิตขนาดใหญ่  มีการประชาสัมพันธุ์และโน้มน้าว   พี่น้องชาวอีสาน  จนกลายเป็นข้าวหอมมะลิที่ขยายผลได้ในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศตลอดเรื่อยมา  จึงเป็นที่รู้จักและเนที่นิยมเพาะปลูกกันไปทั่วในพื้นที่ภาคอีสาน  [ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ]
       จากข้อมูลการสำรวจทางธรณีวิทยา  ในการปลูกเชิงการเกษตรเป็นเวลานาน ทำให้รู้ว่า  ว่า   ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่ได้รับมรดกจากธรรมชาติมาน้อยมากเพราะพื้นที่นี้เป็นดินทราย  อินทรียวัตถุต่ำ บางแห่งจะมีดินจะมีความเค็มเป็นพิเศษ  สังเกตได้จากร่องรอยเกลือสีขาวที่ปรากฏอยู่ทั่วไป  จึงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ  เป็นอย่างยิ่ง กว่าภาคใดๆ ของประเทศไทย  
         จากคำบอกเล่าถึงแหล่งข่าวได้มา   ว่ากันว่า   ข้าวขาวดอกมะลิ  ๑๐๕   ได้ทำการเพาะปลูกอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี  เป็นเวลานานหลายปี  แต่เมื่อถูกนำมาปลูกในภาคอีสานใต้  ได้แก่   จังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และมหาสารคาม  และจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัดในภาคอีสาน


เมล็ดอวบอิ่มเต็มรวงรัง  .. รอรับการบรรจงจูบรัก..จากใบหน้าคมเคียว
พอมีข่าวออกมาว่าจะพัฒนาทุ่งกุลา ให้เป็นบ่อนกาสิโน ก็มีเสียงสะท้อนจากชาวนา....
"ไผว่าเมืองอิสานแล้ง อยากจูงแขนมันไปเบิ่ง ข้าวเต็มท่งนาอยู่โจ้โก้ สิไปแล้งบ่อนได๋"
ข้าว หอมมะลิที่ปลูกในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ที่ใครๆ ในโลกก็รู้ว่ามีคุณภาพดีที่สุด  ทุ่งกุลาไม่ได้แล้งแล้ว ไปดูได้เลย ข้าวเขียวเต็มท้องทุ่ง ถึงเวลาข้าวสุก สีทองอร่ามงามตาไปทั่วสุดลูกหูลูกตา  ยิ่งทุ่งนาในภาคกลางมีสภาวะเสี่ยงต่อน้ำท่วม  แต่ที่ทุ่งกุลาท่วมก็ไม่นาน ข้าวงามมาก ควรมาพัฒนาจุดนี้ แล้วจะเอาพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ ไปทำกาสิโน ประเทศไทยต้องเป็นประเทศเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการเกษตรเท่านั้น เป็นครัวของโลก กาสิโน กาสิเน อะไรนั่นมันเต็มตะเข็บชายแดนไปหมด มีรถมารับถึงบ้าน

เราลองมาจินตนาการณ์กันหน่อยดีไหม ถ้าพื้นที่การเกษตรที่ปลุกข้าวเลี้ยงคนไทย พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลกและปลูกข้าวส่งออกไม่เหลือแล้ว เพราะว่ารัฐบาลต้องการส่งเสริมให้บ่อน คาสิโน แทน ถ้าประเทศไทยไม่มีข้าว กิน ชาวนาไม่เหลือที่ทำกิน เราจะอยู่ได้อย่างไรกัน...หรือว่าต่อไปนี้คุณจะกินอาหารเม็ด หรือ แคปซูลแทนข้าว กระนั้นหรือ???
ข้อสรุป
          คนไทยปลูกและกินข้าวมานานจนกลายเป็นอาหารประจำชาติยิ่งกว่านั้นประเทศไทย ยังเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและจากการที่ข้าวหอมมะลิของไทยได้สร้างชื่อเสียงในตลาดโลกมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ประเทศมหาอำนาจที่มีความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งความเชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายระหว่างประเทศ ได้พยายามที่จะพยายามที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมให้มีความคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิไทย รวมทั้งได้พยายามหาช่องทางด้านกฏหมายเพื่อเป็นเจ้าของสิทธิบัตรในข้าวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวขาวดอกมะลิหรือข้าวหอมมะลิ ข้าวชั้นหนึ่งของโลกที่ชาวนาไทยคัดเลือกพันธุ์และดูแลรักษามานานหลายชั่วอายุคน เรื่องนี้ดูเผิน ๆ อาจจะคิดว่าเป็นเพียงเรื่องผลประโยชน์ทางการค้า แต่ถ้าพิจารณากันให้ถึงที่สุดแล้ว นี่เป็นการคุกคามต่อการรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของข้าวไทยอีกครั้งจากมหาอำนาจยักษ์ใหญ่แห่งโลกทุนนิยม หลังจากความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนของไทยจะต้องร่วมมือกันหาทางปกปักษ์รักษาข้าวหอมมะลิของไทย ให้คงความเป็นข้าวของไทยอย่างเต็มความภาคภูมิต่อไปตราบชั่วลูกหลาน.......

เพลงหำเฮี้ยน...สะท้อนชีวิตชาวนา

ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=91431

1 ความคิดเห็น: