วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

พระราชอัจฉริยะภาพ.....โครงการแก้มลิง

 ข้าพเจ้า จักยึดมั่นทำความดี การจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหารกษัตริย์  ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง และขอให้เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยตลอดไป

ขณะนี้หลายจังหวัดของประเทศไทยกำลังประสบภาวะน้ำท่วม ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง อีสาน และภาคใต้
จากเหตุการณ์ที่ฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่ ช่วงค่ำของวันที่ 10 กันยายน ข้ามวันข้ามคืนมาจนถึงวันที่ 11 กันยายน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมสูงทั่วเมืองพัทยา ตั้งแต่พัทยาเหนือไปจนถึงพัทยาใต้ 
จึงทำให้ถนนเมืองพัทยามีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ ไม่สามารถสัญจรไปมาได้จึงทำให้ถนนเมืองพัทยามีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ ไม่สามารถสัญจรไปมาได้

นายภานุ แย้มศรี ผอ.ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะประธานการประชุมศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัยใน 16 จังหวัด รวม 69 อำเภอ 516 ตำบล 2,820 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 202,760 ครัวเรือน 465,792 คน ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท อุบลราชธานี สิงห์บุรี นครปฐม สุพรรณบุรี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา  อุทัยธานี จันทบุรี และสระบุรี 

ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 80 ราย พื้นที่การเกษตร 3.6 ล้านไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ แบ่งเป็น บ่อปลา 67,618 ไร่ กุ้ง หอย ปู 2,284  ไร่ ปศุสัตว์ 2,794,246 ตัว

โครงการแก้มลิง  จึงถือได้ว่าเป็นโครงการที่อาศัยธรรมชาติในการแก้ปัญหาน้ำท่วม  ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีความรู้จริงในธรรมชาติของน้ำ และสภาพภูมิประเทศในท้องที่ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
พระราชอัจฉริยะภาพ.....โครงการแก้มลิง
ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เมื่อปี พ.ศ. 2538
อันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การบริหารจัดารด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)

โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2538 โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออก ไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้
ในครั้งนั้นพระองค์ทรงพระราชทานพระราชดำริไว้ว่า “…ลิงโดยทั่วไปที่เราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกเปลือก  เอาเข้าปากเคี้ยวๆ    แล้วเอาไปเก็บที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี แล้วนำออกมาเคี้ยวและกลืนกินเข้าไปภายหลัง การนำเอากล้วยหรืออาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้  เป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง บริเวณทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา … ”


โครงการแก้มลิง เป็นระบบการบริหารจัดการน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ในพื้นที่เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   โดยการขุดลอกคูคลองต่างๆเพื่อระบายน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่ลุ่มให้ไหลมารวม กันในบ่อพักน้ำ ลักษณะเดียวกับที่ลิงสะสมกล้วยไว้ที่กระพุ้งแก้ม จนเมื่อน้ำในทะเลลดลงจึงค่อยระบายน้ำลงทะเล โดยการใช้ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow)
เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ

การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหล เข้าสู่บ่อพักน้ำ เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ
โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิง
แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการด้วยกัน

อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."

 The Monkey Cheeks Project (Kaem Ling)
His Majesty is an extremely perceptive observer of nature and he is highly skilled in adapting his observation to developing new ideas that solve many problems.
On the 14th of November, during the heavy floods throughout the country, His Majesty advised those concerned in solving the problem that the “Monkey Cheeks Project” provides the solution to the flooding problem in the Bangkok Metropolis.
His Majesty elaborated that “…If we hand a banana to a monkey it will quickly peel the banana and eat it. It then stores the banana in its cheeks which has the capacity to hold a whole hand of bananas. The monkey will slowly chew and swallow the bits of banana when it wants to. The example of storing the bananas in the cheeks is an example of how we should drain the stagnant flooded waters on the east and west of the Chao Phraya river.”
The Monkey Cheeks project is a water organization system for the flooding season to prevent as well as reduce flooding in the lower Chao Phraya river by draining the water ways such as ditches and canals (or klongs) into small reservoirs. This is similar to the monkey holding the banana bits in its cheeks. Water is drained into the sea when the sea water level reduces.

ดีใจที่เรามีในหลวงผู้พ่อของแผ่นดินไทย เป็นพ่อของปวงชนชาวไทย และ เป็นผู้มีพระราชอัจฉริยะภาพ ตลอดกาล

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น