วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

สืบพระราชปณิธาน สานประโยชน์คนและป่า

ข้าพเจ้า จักยึดมั่นทำความดี การจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหารกษัตริย์  ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง และขอให้เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยตลอดไป

18 กันยายน 2554
วันสถาปนากรมป่าไม้ ครบรอบ 115 ปี
115 ปี กรมป่าไม้ "สืบพระราชปณิธาน สานประโยชน์คนและป่า"
ป่าสงวนแห่งชาติในประเทศไทยมีทั้งหมด 1,221 แห่ง
          ป่าไม้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการคงอยู่ของสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ ในทุกส่วนของโลกหรือของประเทศไทย ทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการสูญเสียและผลที่ได้รับจากการกระทำอันนี้ การดำเนินงานอนุรักษ์ป่าไม้จึงได้รับความสนใจจากภาครัฐบาล เอกชน และประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง การอนุรักษ์ป่าไม้จึงเป็นแนวทางในการ
แก้ไขปัญหาและ การจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนยาวนาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้งบงานพัฒนาการป่าไม้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี พ.ศ.2545                                                                              
กรมป่าไม้ ได้ดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ภายใต้งบงานพัฒนาการ ป่าไม้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 60 โครงการ
ภาคเหนือ                                                                       24         โครงการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                                                    11         โครงการ
ภาคกลาง                                                                       11         โครงการ
ภาคใต้                                                                           14         โครงการ

ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ป่าไม้ของประเทศไทยถูกบุกรุกทำลายอย่างหนัก ปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 92.5 ล้านไร่ หรือ 29% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ)
ถึงแม้ว่าการให้สัมปทานทำไม้ทุกประเภทได้ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ส. 2532 แต่พื้นที่ป่าไม้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตรา 0.7% ต่อปี ในปีพ.ศ. 2533-2543 สำหรับพื้นที่สวนป่าของประเทศไทยนั้นมีอยู่ประมาณ 30.6 ล้านไร่ = ครึ่งหนึ่งเป็นพื้นที่สวนยางพารา ซึ้งพื้นที่สวนป่าส่วนหนึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากโครงการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้โดยรัฐบาล

ปี พ.ศ. 2533 กรมป่าไม้ได้เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่า โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกป่าโดยใช้ไม้พื้นเมือง แต่การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวนมากยกเลิกการปลูกไม้ยืนต้นแล้วหันกลับไปปลูกพืชเกษตรอายุสั้นแทน สำหรับเกษตรกรที่ยังคงรักษาพื้นที่สวนป่าเอาไว้ ก็มีอุปสคครเกี่ยวกับกฏระเบียบองทางราชการและมีรายได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากพันธุ์ไม้พื้นเมืองโตช้า (Indigenous long-rotation tree species) ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นและพืชเกษตรอายุสั้น

ข้อมูลป่าที่ทำลาย
สถิติคดีการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ กรมป่าไม้  ปี พ.ศ. 2553 (เพียงแค่หนึ่งปีเท่านั้น และก็มีการกระทำผิดเพิ่มขึ้นทุกปี)
คดีที่พบบุกรุกป่า 2904
คดีที่พบตัดไม้ทำลายป่า 3196

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่า
การทำลายทรัพยากรป่าไม้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรอื่นๆ อีกหลายด้าน เนื่องจากป่าไม้มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรอากาศ ทรัพยากรสัตว์ป่า และรวมถึงมนุษย์ด้วย
ส่งผลต่อทรัพยากรดิน ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน ปกติพืชพรรณต่างๆ ของต้นไม้ ไม้พุ่ม วัชพืชต่างๆ ทุกส่วนของต้นไม้ แต่หากพื้นที่ว่างเปล่าอัตราการ พังทลายของดินจะเกิดรุนแรง การสูญเสียดินจะเพิ่มขึ้น
ส่งผลต่อทรัพยากรน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน การตัดไม้ทำลายป่า ไฟป่า การชักลากไม้ ทำให้ผิวดินแน่น การซึมของน้ำผ่านผิวดินลดลง ก่อให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าผิวดินเพิ่มมากขึ้นจนระบายน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดเป็นอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างได้  เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง การแผ้วถางทำลายป่าต้นน้ำเป็นบริเวณกว้างทำให้พื้นที่ป่าไม้ไม่ติดต่อกันเป็นผืนใหญ่  ทำให้เกิดการระเหยของน้ำจากผิวดินสูง แต่การซึมน้ำผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บน้ำภายในดินน้อยลง

ส่งผลนักการเมือง การปิดป่า เป็นนโยบายหนึ่งที่รัฐบาลได้กระทำเพื่อป้องกันการทำลายพื้นที่ป่า  กล่าวกันว่ายิ่งปิดป่าก็จะถูกลักลอบตัดไม้ยิ่งขึ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หาเสียงกับพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้ราษฎรทำกิน จากการที่ป่าไม้ถูกทำลายจนเกิดสภาพเสื่อมโทรม การโฆษณาหาเสียงของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้คำมั่นสัญญากับราษฎรไว้ว่า ถ้าตนเองได้เป็นผู้แทนแล้วจะพยายามหาหนทางให้ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทำกิน เมื่อได้รับการเลือกตั้งก็วิ่งเต้นเพื่อให้ราษฎรได้มีสิทธิ์ตามที่ตนเองได้ รับปากไว้ นับว่าเป็นปัญหาการเมืองระดับประเทศที่สำคัญ
  น้ำท่วม

น้ำค่อยเพิ่มแผ่กว้างท่วมทางเท้า               แล้วไหลเข้าเขตอยู่ผู้อาศัย
จากเขตรั้วขอบคั่นถึงบันได                      ท่วมเข้าไปในห้องเจิ่งนองพื้น
ฟ้าที่เฝ้าเติมฝนจนชื่นฉ่ำ                           กระแสน้ำไหลหลากยากขัดขืน
พื้นบ้านกลายเป็นคลองต้องกล้ำกลืน          แอบสะอื้นคล้ายบ้านล่อง...ท่องทะเล
อยู่เมืองไทยใต้ฟ้าต้องฝ่าฝน                    น้ำท่วมต้องรีบขนระหนระเห
เมื่อคลื่นสาดบ้านสะเทือนเหมือนไกวเปล     ระลอกเร่คลื่นล้นถึงก้นครัว
ไม่อยากโกรธโทษฟ้ามาหลั่งฝน                ไม่โทษผลเขื่อนนำปล่อยน้ำรั่ว
ไม่โทษที่ธรรมชาติทำหวาดกลัว                แต่โทษตัวที่หลงไป...อยู่ชายคลอง !!
(เครดิต ผศ.ดร.วิชัย โถสุวรรณจินดา) จากคู่สร้างคู่สมฯ
วันนี้นั่งอยู่บ้านฟังข่าวฝนตกหนัก น้ำท่วม ทั่วทุกภาคของปรเทศไทย...
ผลจาการทำลายป่าไม้ พื้นที่ป่าต้นน้ำโดนทำลาย มนุษย์ต้องเจอกับวิกฤตน้ำท่วม ภัยแล้ง ทั่วทุกภาของประเทศ กำลังโดนภัยธรรมชาติกลับมาทำร้าย หรือพวกเราจะเรียกว่าธรรมชาติลงโทษดีหล่ะ?

ถึงเวลาแล้วหรือยัง?? ที่พวกเราจะหันมาดูแลทรัพทยากรธรรมชาติและรักษาป่าไม้ของประเทศไทย ปลูกป่าเฉลิมพระเกียร์ติอย่างจริงจังเสียที....

ถ้าน้ำท่วมกรุงเทพฯ เหมือนที่ท่าน ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีตนักวิทยาศาสตร์นาซา และผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาวะโลกร้อน เคยกล่าวไว้ เกิดขึ้นมาจริงๆจะทำยังไง??

(สำหรับคนเขียนบล๊อกว่าจะไปหัดว่ายน้ำก่อน...จะทันมั้ยละเนี้ย..(^”^)

ขอบคุณสำหรับแหล่งข้อมูล 
ภาพจากอินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น