วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

King of King คนไทยรักและเทิดทูนสถาบันฯ


ในหลวงของเรา 
เหตุใดต้องมีสถาบันกษัตริย์
ทำไมคนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงค์จักรี และยังต้องการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไปตราบนานเท่านาน มีเหตุผลมากมายแต่ขอให้เหตุผลที่เป็นรูปธรรมเพียงข้อเดียว นั่นเพราะสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่สืบทอดศิลปวัฒนธรรม รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของไทย หากพระราชวงศ์จักรีไม่ได้ทำหน้าที่นี้ การดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมของไทย คงกลายเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลเห็นคุณค่าก็สนับสนุนดำรงรักษาไว้ แต่หากไม่วัฒนธรรมไทยคงทิ้งไว้ให้ดำเนินไปตามยถากรรม
พระราชวงศ์จักรีของไทยถือเป็นผู้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่แบบเดิมเสมือนเป็นหน้าที่ ซึ่งหากไม่ได้พวกท่านแล้วก็ไม่เห็นว่าจะมีใครรักษาไว้ได้ดีเท่านี้
ทำไมกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีของไทยควรได้รับการยกย่องเชิดชูมากที่สุด
เพราะพระองค์ทำหน้าที่ของพระมหากษัตริย์อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เรียกว่าในฐานะพระมหากษัตริย์ควรต้องทำอะไรพระองค์ก็ทำอย่างนั้น ไม่เคยเกียจคร้านการงาน บางอย่างก็ทำมากกว่าหน้าที่ เช่น การเดินทางไปยังถิ่นทุรกันดารห่างไกลความเจริญ รวมทั้งพื้นที่อันตราย  ที่เรียกว่าเป็นแบบอย่างของใครหลายคน
ในวันที่ฉลองครบรอบครองราชย์ 60 ปี คนไทยทุกคนรวมทั้งชาวโลกยังจำได้แม่นที่ในหลวงกล่าวกับพระอคันตุกะที่มาจากนานาประเทศและประชาชนชาวไทยว่า พระองค์เพียงทำหน้าที่ของพระองค์ในฐานะที่เป็นคนไทย สิ่งที่ควรดูมากที่สุด คงไม่ใช่การมาดูว่า ราชวงศ์จักรีไทยร่ำรวยแค่ไหน หรือมีข้อบกพร่องบ้างไหม…. นั่นมันก็แค่เปลือกนอกที่คนเราเอามาเลือกมองกันเอง
ไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถเป็นพระมหากษัตริย์และไม่ใช่พระมหากษัตริย์ทุกองค์ที่ทำงานอย่างหนักเพื่อพสกนิกร ก็เพราะได้ตัวอย่างจากพระองค์ไม่ใช่หรือ เราจึงมีนักพัฒนาชุมชนและคนกล้าเสียสละพัฒนาชนบทที่ห่างไกล คนที่หวังเพียงจะดำเนินตามรอยพระบาท
ถ้าหากยังไม่เคยกล้าเหยียบย่างไปในถิ่นทุรกันดาร จะเข้าใจน้ำพระทัยของพระองค์ได้อย่างไร?
ทำไมถึงได้มีกฏหมายไม่ควรลบหลู่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
ในหลวงกับงานพัฒนา 013 
เรื่องกฏหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์นี้ ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ทำไมไม่ควรหมิ่น นั่นก็เพราะพระองค์ถือเป็นตัวแทนของความเสียสละ และความดี เมื่อเริ่มดูหมิ่นก็เหมือนไม่เชื่อในความเสียสละ และความดี ที่พระองค์ทรงทำเพื่อประชาราษฏรอีกต่อไปแล้ว
เหตุผลก็มีแ่ค่นี้แหละ การไม่เชื่อถือ ความไม่ศรัทธา และเริ่มดูหมิ่น เหมือนจะไม่มีอะไรมาก แต่สามารถสั่นคลอนความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ และเรื่องกรรม ที่อยู่ในใจได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ที่เชื่อ และศรัทธาด้วย ถ้าแค่หากไม่ชอบ ไม่เชื่อแต่เก็บไว้ในใจมันก็ย่อมไม่เกิดอะไรขึ้น ไม่มีใครเดือดเนื้อร้อนใจ เป็นเพียงมโนกรรมยังอยู่ในจิต แต่เมื่อมีพฤติกรรมดูหมิ่นแล้วไซร้ ก็เหมือนไปจงใจทำลายความเชื่อความศรัทธาของผู้อื่น (แสดงออกทางกายและวาจา) ถ้าเขาเห็นด้วยก็ดี หรือไม่เห็นด้วยแต่นิ่งเฉยก็ยังดี แต่ถ้าเริ่มตอบโต้ มันก็จะกลายเป็นการสร้างความทุกข์ร้อนวุ่นวายให้แก่กันทั้งสองฝ่าย
ระหว่าง ผู้นำรัฐบาลลงไปในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งหาได้ยากจริงๆ แม้แต่ในประเทศอื่น กับราชวงศ์สามารถเดินทางไปในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ความรู้สึกปิติยินดีปลาบปลื้มใจของชาวบ้านในพื้นที่นั้น ๆ  ย่อมแตกต่างกันมากยิ่งนัก
อาจไม่ใช่แค่เรื่องจริงที่ต้องรู้ หรือต้องเปิดหูเปิดตา
แต่การลบหลู่ ดูหมิ่นสถาบัน เป็นการทำลายศรัทธาที่ปลูกสร้างความสุขของผู้คนในสังคม…ให้หายไปอย่างช้าๆ
ทว่าความจริงที่เชื่อว่าจริงนั้น อาจจะไม่มีความเป็นจริงอยู่เลยก็เป็นได้
ต่างจากสมัยก่อนการรับข้อมูลข่าวสารอาจไม่มาก และสามารถเข้าถึงได้สะดวกเหมือนยุคนี้ อาจทำให้คนในยุคก่อนมีความสุขมากกว่ายุคเรา ไม่ต้องเป็นทุกข์เมื่อได้รับรู้เรื่องของคนอื่นที่อยู่ห่างไปครึ่งโลก หรือกังวลใจกับข้อมูลที่ได้รับจากสื่อที่น่าเชื่อถือ ยิ่งมีข้อมูลให้รับรู้มากกลับกลายเป็นว่าเราทุกข์มาก พยายามดิ้นรนไปหาสิ่งที่เชื่อว่าจริงกว่ามากขึ้น
สำหรับ ปู่ย่าตายายสมัยก่อนนั้น ท่านนิยมและรักศักดิ์ศรียิ่งกว่าความสะดวกสบาย เทิดทูนสถาบันกษัตริย์โดยไม่มีเงื่อนไข แม้นเมื่อมีอ้ายอีใดหน้าไหนมาดูหมิ่นสิ่งที่เคารพรัก ไม่ว่าจะชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ท่านก็พร้อมที่จะปกป้องด้วยร่างกายและหัวใจ บางคนในยุคนี้อาจมองว่าผู้เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างปราศจากเงื่อนไขช่างโง่เขลานัก ในเมื่อมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าสถาบันไม่ได้เป็นอย่างที่เคยเชื่อ ไม่ได้เลิศเลออย่างที่คาดหวัง จะยังเคารพเทิดทูนไปเพื่ออะไร…
หาก แต่เมื่อคนเรามีการศึกษามาก เรียนรู้ในเชิงเหตุผลมาก เราก็มักเชื่อเรื่องราวต่างๆ ด้วยเหตุผล ด้วยตรรกศาสตร์ ด้วยข้อมูลที่อ้างอิงพิสูจน์ได้ จนทำให้ความเชื่อที่ดีงามบางอย่าง เมื่อถูกพิสูจน์ด้วยเหตุผลก็อาจกลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรเชื่อไป
ทำไม ถึงเรียกว่าความดีงามเล่า ก็เพราะสิ่งเหล่านั้นทำให้เราเป็นคนดี เชื่อในความดี ทำให้ชีวิตเรามีความสุข แม้ไม่มีเงินทองมากมาย แต่ก็อยู่ด้วยความรัก และศรัทธาในสิ่งเดียวกัน … สังคมจึงสงบสุขอย่างง่ายๆ
แต่ อย่างไรเสียโลกก็เป็นเช่นนี้ เมื่อความเจริญทางวัตถุเพิ่มมากขึ้น เราจึงถูกตีกรอบให้เข้าใจในธรรมชาติน้อยลง ยึดติดในตัวในตนมากขึ้น…เชื่อในสิ่งที่เห็นอันได้แก่รูปวัตถุมากขึ้น …ทว่ามันก็คงต้องเป็นไปแบบนั้น เช่นนั้นเอง
สิ่ง ที่เคยมีอยู่ใช่จะมีอยู่ได้ตลอด เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่มันเคยมีก็ต้องหาย หรือกลายเป็นอื่น วัฏจักรมันก็เช่นนี้ จะทุกข์ร้อนไขว่ขว้าไว้ ก็ได้แค่ชั่วคราว
หากต่างปรารถนาสิ่งที่อยู่ไกลจนเหนื่อยล้า    แม้เป็นดาวบนฟ้าก็ต้องทุกข์ตรม
 
" Long Live The Great King Bhumibol Adulyadej "
ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานองค์ภูมิพลอดุลยเดชมหาราชา"

เครดิตจาก /http://www.chaoprayanews.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น