วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มหากาพย์แห่งการฟื้นฟูแผ่นดินสยาม


 

พระมหาชนกฉบับพระราชนิพนธ์ พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก มีที่มาจากวรรณคดีในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสดับพระธรรมเทศนาของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) วัดราชผาติการาม เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อหาสาระกล่าวถึงพระมหาชนกทรงกระทำความเพียรอย่างยิ่งยวด จนกระทั่งได้ครองราชสมบัตินำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่กรุงมิถิลาด้วยพระปรีชา สามารถสูงส่ง อยู่มาวันหนึ่งเสด็จประพาสอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วง ๒ ต้น ต้นที่มีผลดีถูกข้าราชบริพารดึงทิ้ง กระทั่งโค่นล้มลง ส่วนต้นที่ไม่มีลูก ตั้งอยู่อย่างตระหง่าน พระมหาชนกทรงเกิดธรรมสังเวช ดำริจะเสด็จออกผนวช เนื้อหาสาระในพระราชปรารภ...อาทิ “...การที่พระมหาชนกจะเสด็จออกทรงแสวงหาโมกขธรรม ยังไม่ถึงวาระเวลาอันสมควร เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่มิถิลายังไม่ครบถ้วน กล่าวคือข้าราชบริพารนับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้าง คนรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งนั้น ไม่มีความรู้ทั้งทางวิทยาการทั้งทางปัญญา ยังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จอนึ่ง พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่เก้าวิธี อีกด้วย




๙ วิธี ฟื้นฟูต้นมะม่วง
๑) เพาะเม็ดมะม่วง Culturing the seeds
๒) ถนอมราก Nursing the roots
๓) ปักชำกิ่ง Culturing the cuttings
๔) เสียบยอด Grafting
๕) ต่อตา Bud-grafting
๖) ทาบกิ่ง Splicing the branches
๗) ตอนกิ่งให้ออกราก Layering the branches
๘) รมควันต้นที่ไม่มีลูก Smoking the fruitless tree
๙) ทำ ชีวาณูสงเคราะห์’ Culturing the cells

จากพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก ปริศนาธรรมทั้ง๙ ข้อนี้
      คือวิธีการฟื้นฟูประเทศ หลังต้นมะม่วง (หรือสถาบันหลัก)ล้ม จากพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" ซึ่งเป็นดั่งเข็มทิศและแผนที่สำหรับเดินทาง จึงได้กลั่นกรององค์ความรู้ มาเป็นยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูแผ่นดินสยาม "คัด เมล็ด รวบรวมก้าน ฟื้นฟูกิ่ง เรียนรู้จริงอาศรมพระดาบส พัฒนาชนบทจรดเมืองสวรรค์ พิถันสร้างชุมชนพอเพียง เตรียมเสบียงฝ่าวิกฤติ กำหนดทิศฟื้นวิถีไทย สร้างวิถีพุทธให้ยั่งยืน" คัดเมล็ด : คัดเลือกเยาวชนที่เป็นผู้นำในการทำความดี ใช้คุณภาพของงานในการคัดเลือกคน โดย ผ่านกระบวนการฝึกคิดและลงมือทำความดี อย่างเป็นระบบผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้โครงงานคุณธรรม จากนั้นจึงนำเมล็ดพันธ์แห่งความดีเหล่านี้ มาบ่มเพาะ แตกหน่อ ต่อยอด และนำมาอยู่ในตำแหน่งที่จะสามารถ ฝึกหัดปกครองบ้านเมืองได้โดยมีกัลยาณมิตรคอย เกื้อหนุน เพื่อสั่งสม ส่งเสริม และสนับสนุนให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง

    ดั่งแนวพระราช ดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปี ๒๕๑๒ รวบรวมก้าน : เฟ้นหา รวบรวมพระปราชญ์ นักปราชญ์ ครูดี คนดีในทุกสาขาอาชีพและทุกภาคส่วนของ สังคมจากนั้นจึงเริมหนุนศักยภาพ (empower) ด้วยการเสริม กำลังคน กำลังสื่อ กำลังทุนทรัพย์ ในการทำคุณงามความดีต่อไป ฟื้นฟูกิ่ง : รวบรวมองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายปราชญ์แผ่นดินสาขาต่างๆ สร้างกลุ่มก้อนความสามัคคี ของคนดีให้มีพลัง มีวิถีทำความดี วิถีทำบุญ วิถีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้จริงอาศรมพระดาบส : ปฎิวัติการศึกษาโดย สร้างระบบ กระบวนการให้เยาวชนของเรา ได้ไปเรียนรู้ กับพระปราชญ์ นักปราชญ์ พระดี คนดี ในสังคมแบบซึมซับ ประกบติด โดยประสานพลัง กับ 3 ยุทธศาสตร์แรกที่สร้างไว้ โดยไม่ยึดติดกับรูปแบบ หลักสูตรหรือโครงสร้างที่ตายตัว 

    พัฒนาชนบทจรดเมืองสวรรค์ พิถันสร้างชุมชนพอเพียง :
     สร้างชุมชนพอเพียง ชุมชนชาวพุทธ เช่น สันติอโศก หมู่บ้านพลัม สวนพุทธธรรม จ.ลำพูน
แต่ จำเป็นต้องเป็นชุมชนชาวพุทธที่เป็นกลางไม่โน้มเอียงไปด้านลัทธิศาสนา ในพื้นที่จังหวัดที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑๐๐เมตร ขึ้น ไปและจำเป็นต้องไปถึงระดับชุมชน อย่างบูรณาการโดยไม่แยกส่วน มี วัด โรงเรียน สถานพยาบาล สวนเกษตร พลังงาน ฯลฯ เบ็ดเสร็จในชุมชนนั้น จึงจะเป็นชุมชนพุทธที่ เข้มแข็งและพึ่งพาตนเอง เป็นการเตรียมเสบียงทางกายภาพ พวกปัจจัย ๔ สำหรับการรองรับ วิกฤติต่างๆได้ เตียมเสบียงฝ่าวิกฤติ กำหนดทิศฟื้นวิถีไทย สร้างวิถีพุทธให้ยั่งยืน : เตรียมความพร้อมเผชิญ ฝ่าวิกฤติ เช่น การสร้างชุมชนพอเพียง ชุมชนชาวพุทธที่เข้มแข็ง ทั้งทาง

กายภาพ คือ ปัจจัย4 อาหาร พลังงานและองค์ความรู้ต่างๆ รวมถึงเสบียงบุญโดยสร้างเงื่อนไขให้ชุมชนต่างๆที่กระจาย ตัวอยู่ทั่วประเทศ ได้ฟื้นวิถีไทย วิถีพุทธ กลับมามีวิถีบุญ มีวิถีสามัคคี เช่น การฟื้น "หลักชาวพุทธ" หรือการมีกิจกรรมพิเศษในวันโกนวันพระ สร้างเป็นวิถีของวันปูรณมีบูชา เพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ และ ๘๔ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น จากหลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา สามารถสรุปเป็นยุทธศาสตร์ดังนี้ ยุทธศาสตร์สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย” Condition of welfare (เวอร์ชั่น สรุปเป็นคำคล้องจอง) หมั่น ประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมทำกิจไม่เกี่ยงก่อนหลัง ตั้งมั่นในหลักการไม่หาญหัก เคารพรักพระปราชญ์ผู้เฒ่าผู้ใหญ่ คุ้มกันภัยมวลหมู่มิให้หวั่นหวาด เคารพในชาติ ศาสน์-กษัตริย์และศูนย์รวมใจ สั่งสมและส่งเสริมให้พระดี คนดี มีกำลังนำสังคมหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ : มีวิถีร่วมกันทำความดี ทำบุญกุศลร่วมกัน เช่นวิถีทำบุญ เข้าวัดฟังธรรมในวันโกนวันพระ เป็นต้น ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเมตตาและวัฒนธรรมแสวงหาปัญญา นอกจาก จะทำให้เกิดพลังที่มองไม่เห็นคือพลังแห่งบุญกุศลอันแปรเปลี่ยนเป็นบุพเพ สันนิวาสและ ความดีงามทั้งหลายแล้ว การนำคนทั้งชุมชนมาเรียนรู้ร่วมกันนี้ ยังสร้างความสามัคคีอย่าง แยบคายด้วย เช่นการแบ่งปันล้อมวงทานข้าวหลังถวายพระร่วมกันทุก 7วัน 

ซึ่ง สามารถ สร้างความรู้สึกให้ทั้งชุมชนรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน เด็กๆ ทุกคนในชุมชนเป็น ดั่งลูกหลานของคนทุกคน พร้อมทำกิจไม่เกี่ยงก่อนหลัง : ร่วมทำบุญกุศลโดยพร้อมเพรียงกัน เริ่มและเลิกประชุมพร้อมกัน ทุกคนต่าง ทำหน้าที่ของตนที่ควรทำในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ ตั้งมั่นในหลักการไม่หาญหัก : ไม่สร้างค่านิยม วัฒนธรรมประเพณีใหม่ที่ไม่เหมาะสม ไม่ยกเลิก ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามที่มีมาในอดีต ปฎิบัติตามประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม เคารพรักพระปราชญ์ผู้เฒ่าผู้ใหญ่ : สักการะ เคารพนับถือ บูชา เชื่อคำแนะนำของผู้เฒ่าผู้ใหญ่ นักปราชญ์ผู้มี ความรู้และประสบการณ์ ยึดบรรพบุรุษผู้ทำคุณงามความดีเป็นแบบอย่าง คุ้มกันภัยมวลหมู่มิให้หวั่นหวาด : ป้องกันไม่ให้สตรี เด็ก และผู้อ่อนแอ ถูกรังแก ข่มแหง ทำร้าย ฉุดคร่า กักขัง ดูแล รักษาให้สังคมมีความปลอดภัย อยู่ในความสงบเรียบร้อย เคารพในชาติ ศาสน์-กษัตริย์และศูนย์รวมใจ : สักการะ เคารพ นับถือ บูชา พระธาตุเจดีย์ รวมถึงสัญลักษณ์ แห่งคุณงามความดี ในชาติ ศาสน พระมหากษัตริย์ ศูนย์รวมใจและความดีของบรรพบุรุษ สั่งสมและส่งเสริมให้พระดี คนดี มีกำลังนำสังคม : อารักขา ป้องกัน คุ้มครอง พระดีคนดีในสังคม เสริม หนุน กำลังคน กำลังสื่อ และกำลังทรัพย์ ให้พระดี คนดีมีกำลังนำสังคมไปสู่ความดีงาม

" Long Live The Great King Bhumibol Adulyadej "

“ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานองค์ภูมิพลอดุลยเดชมหาราชา




เครดิตจาก คุณนิรนาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น