วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์10-21พฤศจิกาย 2554


บทเพลง.....
ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกยาวๆเรียกว่างวง สองเขี้ยวใต้งวงเรียกว่างา มีหูมีตา หางยาว….
อักษรไทย...
. ช้าง วิ่งหนี ซ.โซ่ล่ามที
เมืองนี้ บ้านนี้เป็นเมืองช้าง
แต่นับวันช.ช้างมิได้วิ่งหนีแต่โดนล่าและหากิน...

เนื่องจากเกิดเป็นคนจังหวัดสุรินทร์ที่มีกิจกรรมงานแสดงของช้างทุกปี แล้วปีนี้ก็ตั้งใจว่าจะกลับไปเที่ยวงานช้าง แต่ก็ต้องเปลี่ยนแผนใหม่ ไม่ได้ไปแต่มานั่งเขียนเรื่องช้างลงบล๊อกแทน...

ณ. ปัจจุบันบทบาทของช้างได้เปลี่ยนไปแล้ว แตกต่างจากสมัยก่อน นอกจากช้างจะเป็นสัตว์ ที่ใช้ในศึกสงครามและการคมนาคมขนส่งแล้วใน ประเทศไทยยังยกย่องนับถือช้างเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามระบบความเชื่อที่รับ มา จากอินเดียนับตั้งแต่ความเชื่อเรื่อง พระพิฆเณศวร์ ผู้มีเศียรเป็นช้าง จนถึงพระโพธิสัตว์ที่เคยเสวยพระชาติเป็นช้างในคัมภีร์ พุทธศาสนาโดยทั่วไปแล้ว มีการกล่าวถึงช้างว่าเป็นสัตว ์สำคัญ มีกำลังมาก มีความอดทนเป็นเลิศมีความฉลาด และจดจำเก่ง มีความคุ้นเคยกับมนุษย์ ความสำคัญของช้างยังปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดี ทั้งที่เป็นประเภทจารึกและประเภทศิลปกรรม โดยเฉพาะ ชุมชนในสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ แบบทวาราวดีที่ค้นพบมี อยู่แพร่หลายในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
มนุษย์รู้จักจับช้างมาแล้วแต่อดีตหลายพันปีรู้จักใช้ช้างทั้งเป็นพาหนะและยุทธปัจจัยในการทำสงครามมาแล้วกว่า 3,000 ปี เท่าที่ศึกษาจากเอกสารชาวเอเชียใกล้และเอเชียกลางนิยมจับช้างป่าโดยวิธีทำหลุมพราง
การทำยุทธหัตถี หรือการชนช้าง (Elephant duel) คือการทำสงครามบนหลังช้างตามประเพณีโบราณของกษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นการทำสงครามซึ่งถือว่ามีเกียรติยศ เพราะช้างถือเป็นสัตว์ใหญ่ และเป็นการปะทะกันซึ่ง ๆ หน้า ผู้แพ้จะถึงแก่ชีวิตได้
ช้างในประวัติศาสตร์ไทย คนไทยรู้จักและมีความผูกพันกับช้างมานานตั้งแต่สมัยโบราณ ช้้างเป็นสัตว์ที่ได้รับเกียรติสูงส่งทั้งทางด้านการเมือง สังคมเศรษฐกิจ และด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวต่างประเทศที่เคยมาประเทศไทย และศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย เช่น แฟรงด์ วิเซนต์(Frank Vicent) ได้เขียนหนังสือ "แผ่นดินแห่งช้างเผือก"(Theland of the white elephant) ตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมือปี ค.ศ. 1837 และจอร์จ บี เบคอน (George B.Bacon) ได้เขียนหนังสือเรื่อง"สยามแผ่นดินแห่งช้างเผือกอดีตและปัจจุบัน"(Siam,the land of the white elephane asit was andis) ตีพิมพ์ในกรุงนิวยอร์ค เมื่อปี ค.ศ.1873 แสดงให้เห็นถึงความแปลกใหม่ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ระหว่างช้างกับคนไทยในลักษณะต่างๆ ที่ไม่เคยพบเห็นจากที่ใดมาก่อน ชื่อเสียงความเฉลียวฉลาดน่ารักของช้างไทยจึงปรากฏไปทั่วโลก

 

ชีวิตของช้างไทยกับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน

จริงๆ แล้วช้างเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับคนไทยนานแสนนาน เป็นสัตว์บกที่สง่างาม ทนกับการถูกใช้งานหนัก และเคยได้รับเกรียติอย่างสูงให้เป็นพาหนะยามออกศึกของพระมหากษัตริย์ไทยใน อดีต สมัยหนึ่งภาพของช้างเคยปรากฎเด่นเป็นสี-ขาวบนผืนธงชาติสีแดงของไทย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นธงไตรรงค์ 

ธงช้างเผือก
ธงชาติผืนแรกของประเทศสยาม

นับแต่อดีตจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 คนไทยไม่เคยมีธงชาติของตนเอง ธงช้างเผือกนับเป็นธงชาติผืนแรกของประเทศไทย สืบเนื่องจากในรัชกาลสมัยนั้น ประเทศต้องทำการค้าขายกับต่างชาติ ประเทศในตะวันตกได้ใช้ธงของตนเองประดับเรือ เพื่อบงบอกสัญชาติของเรือ เริ่มแรกรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำรัสให้ใช้ธงสีแดงทั้งผืน แต่ต่อมาจึงปรับเอาตราช้างเผือก อันเป็นส่วนประกอบในตราแผ่นดิน เข้าไปประดับไว้ในธงผืนธงสีแดง ซึ่งชาวต่างชาติในยุคนั้นรู้จักดี
 งานแสดงของช้างและงานกาชาดจังหวัดสุรินทร์
ชาวส่วยกับช้างจังหวัดสุรินทร์ ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับช้างจังหวัด สุรินทร์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ "งานช้าง" คือการนำช้างมาฝึกให้แสดงตามคำสั่ง วึ่งไม่ใช่ของง่ายเลยในการที่จะนำสัตว์ที่มีรูปร่างใหญ่อย่างช้างมาฝึกหัด ให้เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งได้  จังหวัดสุรินทร์มีชนพื้นเมืองอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มใช้ภาษาเขมร กลุ่มที่ใช้ภาษาลาว และกลุ่มที่ใช้ภาษาส่วย แต่กลุ่มชนที่มีความเกี่ยวข้องกับช้างจังหวัดสุรินทร์มีอยู่กลุ่มเดียวคือ กลุ่มที่ใช้ภาษาส่วย บางคนเรียกว่า "คนส่วย"
งานแสดงของช้าง หรือเรียกสั้นๆ ว่า “งานช้าง”

เป็นงานสำคัญของชาวสุรินทร์ ซึ่งจัดมากกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว
เดิมทีจัดที่ท่าตูม บ้านของคนเลี้ยงช้าง
ต่อมาย้ายมาจัดที่สนามช้าง…สนามศรีณรงค์
การแสดงจะี ๒ วัน ตรงกับเสาร์อาทิตย์ประมาณสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน
 ความเป็นมาของงานแสดงช้างสุรินทร์
  บริเวณตอนเหนือของจังหวัดสุรินทร์ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นทีอยู่ของชนพื้นเมือง ชาว กวย”  หรือ ส่วยนิยมเลี้ยงช้างมาแต่โบราณกาล เพื่อนำไปใช้ในงานและพิธีต่างๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของหมู่บ้านช้าง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่กับลำน้ำมูลและลำน้ำชีเดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก



ความสามารถของช้างมีอีกมากมายยย.......ไว้คราวหน้าจะเอามาเล่าให้ฟังใหม่ค่ะ

เครดิตเวบไซด์ http://region2.prd.go.th/ewt_news.php?nid=25051&filename=index2
ขอบคุณรูปภาพจากอินเทอร์เน็ต